หน้าเว็บhttp://thaistudiesa8.blogspot.com/2017/05/blog-post_71.html

วันอังคารที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

แนวทางการดำเนินงานของมัสยิดจักรพงษ์





         มัสยิดถือเป็นองค์กรนิติบุคคล มีกรรมการบริหารมัสยิด ส่วนชุมชนก็มีกรรมการบริหารชุมชน ทั้งสองส่วนทำงานร่วมกัน การจัดการบริหารของมัสยิดนั้น จะมีการรับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธา เพราะมัสยิดเป็นนิติบุคคล จึงไม่มีรายได้ประจำ เงินที่ได้จากการบริจาคเหล่านั้น จะนำมาจัดการเรื่องค่าใช้จ่าย ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าครูสอนศาสนา ซึ่งมัสยิดทุกแห่งต้องมีการสอนศาสนา สำหรับมัสยิดจักรพงษ์จะมีการสอนศาสนาในช่วงเวลา ๑๗.๐๐ – ๑๙.๐๐ น. วันจันทร์ถึงวันศุกร์ โดยจะมีเด็กๆชาวมุสลิมที่อาศัยในบริเวณนั้นมาเรียน\


       

มัสยิดนั้นจะอยู่คู่กับโรงเรียน ส่วนโรงเรียนก็จะอยู่คู่กับบ้าน ชุมชนมุสลิมจะมีบ้าน โรงเรียน 
และมัสยิดอยู่ด้วยกัน ทั้ง ๓ อย่างนี้จะทำงานร่วมกัน หากชุมชนมุสลิมมีบ้านแต่ไม่มีมัสยิด หรือมีมัสยิดแล้วไม่มีโรงเรียน ก็จะไม่เกิดอะไรขึ้น กลายเป็นความว่างเปล่า ไม่มีคนมาทำความดี ดังนั้นทั้งสามส่วนจึงเป็นสิ่งที่ดำเนินการและทำงานไปด้วยกัน คนในชุมชนจะส่งลูกหลานมาเรียนรู้เรื่องศาสนาซึ่งถือเป็นหน้าที่ที่พวกเขาพึงปฏิบัติ เมื่อเด็กได้รับการเรียนรู้ มีความรู้ความสารถ และความศรัทธา เขาก็จะมาทำความดีเพื่อชุมชนมัสยิดของเขาต่อไป 


       คนที่มาทำละหมาดที่มัสยิดจักรพงษ์นอกจากคนในชุมชนแล้ว ยังมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มาพักในบริเวณนี้ เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ซึ่งจะเข้ามาทำละหมาดตามเวลาของทางศาสนา คือ ๕ เวลา เช้า กลางวัน บ่าย เย็น และค่ำ มุสลิมทุกคนจะรู้เวลาทำละหมาดเป็นอย่างดีโดยผ่านกระบวนการศึกษาศาสนามาตั้งแต่เด็ก ซึ่งถือเป็นกฎข้อบังคับที่เด็กชาวมุสลิมต้องปฏิบัติตาม ศาสนาอิสลามถือได้ว่าเป็นระบอบปกครองหนึ่ง ที่ผู้นำสูงสุดจะต้องดูแลคนในชุมชน ถือว่าทุกคนในชุมชนอยู่ร่วมกันและคนในชุมชนก็ต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามผู้นำด้วย




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น